|
|
Wednesday, August 8, 2007
|
ภาคกลาง หมายถึง ภูมิภาคตอนกลางของไทย ครอบคลุมพื้นที่แห่งที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่กึ่งกลาง ระหว่าง ภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ อาชีพของคนภาคกลาง กลองสองหน้า กลองแขก ซอด้วง ซอสามสาย ซออู้ จะเข้ ปี่ ขลุ่ย โทนรำมะนา ฆ้องวงเล็ก ฆ้องวงใหญ่ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม |
posted by
kui
@
9:51 AM
|
|
|
|
|
สาธารณสมบัติ หรือ สมบัติสาธารณะ (Public domain) หมายถึง องค์ความรู้หรือนวัตกรรม (เช่น งานเขียน, ศิลปะ, ดนตรี, สิ่งประดิษฐ์) ที่ไม่มีใครสามารถถือตัวเป็นเจ้าของได้ รวมไปถึงสิ่งก่อสร้าง และถนนหนทาง ในทางคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์สาธารณสมบัติ หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นแล้วผู้สร้างหรือเจ้าของยินยอมให้ใคร ๆ สามารถคัดลอกนำไปใช้ได้ โดยไม่ผิดลิขสิทธิ์ การไม่มีข้อกำหนดในการใช้งาน ผลงานสร้างสรรค์ต่างๆ ที่ผ่านกระบวนการคิด การเขียน หรือรูปแบบใดๆ ออกมาถือว่าอยู่ภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์ ถ้าไม่มีลิขสิทธิ์ชนิดอื่นกำหนดไว้ ผลงานต่างๆ ที่มีการสร้างก่อนกฎหมายลิขสิทธิ์ ถือว่าเป็นสาธารณสมบัติ ได้แก่ คัมภีร์ไบเบิล อัลกุรอาน ผลงานของวิลเลียม เชกสเปียร์ ลุดวิก ฟาน เบโทเฟน หรือ อาร์คิมิดีส อย่างไรก็ตามการแปลผลงานเหล่านี้สามารถอยู่ภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์ การรวบรวมหรือทำรายชื่อของผลงานลิขสิทธิ์ในบางครั้งถือว่าเป็นงานลิขสิทธิ์ถ้ามีการเรียบเรียงและจัดหมวดหมู่ข้อมูล ในขณะเดียวกันการรวบรวมข้อมูลเรียงตามตัวอักษร เช่น สมุดโทรศัพท์ถือว่าไม่อยู่ภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์ ผลงานของรัฐบาลถือว่าเป็นสาธารณสมบัติและไม่อยู่ภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์ ครีเอทีฟ คอมมอนส์ เป็นองค์กรสาธารณะที่สนับสนุนการใช้งาน โดยสนับสนุนการใช้งานสู่สาธารณะ จากผลงานลิขสิทธิ์ |
posted by
kui
@
9:51 AM
|
|
|
|
|
พุทธศักราช 2533 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1990 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน ผู้นำ มกราคม-มิถุนายน 27 กรกฎาคม – วันสถาปนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 27 กรกฎาคม – เบลารุสประกาศเอกราชจากสหภาพโซเวียต 29 กรกฎาคม – วันสถาปนามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 30 กรกฎาคม – มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยบูรพา 28 กรกฎาคม – อัลแบร์โต ฟูจิมูริ ก้าวขึ้นเป็นประธานาธิบดีของประเทศเปรู และเป็นชาวเอเชียตะวันออกคนแรกที่ดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐของชาติที่ไม่ใช่เอเชีย 2 สิงหาคม – สงครามอ่าวเปอร์เซีย: อิรักรุกรานคูเวต เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามอ่าว 6 สิงหาคม – สงครามอ่าวเปอร์เซีย: คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ สั่งการให้ทั่วโลกคว่ำบาตรทางการค้าต่อประเทศอิรัก เพื่อตอบโต้การรุกรานคูเวต 10 สิงหาคม – ยานแมเจลแลนเดินทางถึงดาวศุกร์ 12 สิงหาคม – นักบรรพชีวินวิทยาค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ ไทแรนโนซอรัส เรกซ์ ในมลรัฐเซาท์ดาโคตา 23 สิงหาคม – เยอรมนีตะวันตกกับเยอรมนีตะวันออกประกาศว่าจะผนวกเข้าด้วยกันในวันที่ 3 ตุลาคม 28 สิงหาคม – ซัดดัม ฮุสเซน ผู้นำอิรักประกาศว่าคูเวตเป็นจังหวัดที่ 19 ของอิรัก กรกฎาคม-สิงหาคม 1 กันยายน – สืบ นาคะเสถียร ใช้อาวุธปืนกระทำอัตวินิบาตกรรมในป่าห้วยขาแข้ง 24 กันยายน – เวลา 23.15 น. เกิดอุบัติเหตุรถบรรทุกแก๊สพลิกคว่ำที่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ทำให้เกิดไฟไหม้ลุกลามไปทั่วบริเวณ มีผู้เสียชีวิต 89 ราย บาดเจ็บ 113 ราย และบ้านเรือนเผาไหม้ไป 91 หลัง เหตุครั้งนี้เป็นข่าวครึกโครมอย่างมากในปีนั้น 3 ตุลาคม – การกลับมารวมชาติของเยอรมนี: รัฐเยอรมัน 5 รัฐ ในเยอรมนีตะวันออก เข้ารวมกับเยอรมนีตะวันตกอย่างเป็นทางการ 15 ตุลาคม – มิคาเอล กอร์บาชอฟ ผู้นำรัสเซีย ได้รับการประกาศให้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ในฐานะที่มีบทบาทสำคัญในการลดความตึงเครียดจากสงครามเย็น และเปิดประเทศมากขึ้น 22 ตุลาคม – สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางศิลาฤกษ์ อนุสาวรีย์ทหารผ่านศึกเวียดนาม ณ กองพลทหารราบที่ 9 ค่ายสุรสีห์ ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เป็นอนุสรณ์แด่วีรกรรมของทหารไทย ที่เดินทางไปปฏิบัติการรบร่วมกับชาติพันธมิตร ในสงครามเวียดนาม 13 พฤศจิกายน – เว็บเพจแรก ถูกสร้างขึ้น [1] 14 พฤศจิกายน – เยอรมนีแก้ไขรัฐธรรมนูญ กำหนดให้แนวโอเดอร์-ไนเซ เป็นเขตแดนระหว่างเยอรมนีกับโปแลนด์ 22 พฤศจิกายน – นางมากาเร็ต แทตเชอร์ ลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร 1 ธันวาคม – อังกฤษและฝรั่งเศสเชื่อมต่ออุโมงค์รถไฟใต้ดิน Channel Tunnel ลอดช่องแคบอังกฤษที่ความลึกจากพื้นทะเล 40 เมตร ทำให้ประชาชนสามารถเดินทางไปมาหากันระหว่างเกาะบริเตนใหญ่และทวีปยุโรปได้เป็นครั้งแรกนับจากยุคน้ำแข็ง 8 ธันวาคม – พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดอนุสาวรีย์ยุวชนทหาร ที่สะพานท่านางสังข์ ตำบลบางหมาก อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ 15 เมษายน – เอมมา วัตสัน นักแสดงชาวอังกฤษ (รับบทเป็น เฮอร์ไมโอนี เกรนเจอร์ ในภาพยนตร์ชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์) |
posted by
kui
@
9:51 AM
|
|
|
|
|
การบริหารรัฐกิจ หรือ รัฐประศาสนศาสตร์ (อังกฤษ: Public administration)คือ การดำเนินการทั้งปวงของฝ่ายบริหาร ยกเว้นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติและตุลาการ โดยมีจุดมุ่งหมายให้นโยบายของรัฐที่วางไว้บรรลุผล อาจมองได้ทั้งเป็นการปฏิบัติการและการเป็นสาขาวิชาแขนงหนึ่ง ในการบริหารและจัดการภาครัฐ จะไม่เหมือนการบริหารธุรกิจที่เน้นกำไรสูงสุด (profit maximize) แต่เป็นการเน้นการให้บริการที่ให้ลูกค้าพึงพอใจ โดยลูกค้าก็คือ ประชาชนที่มาใช้บริการ และต้องเป็นการให้บริการต่อทุกคนอย่างเป็นธรรม สำหรับคณะรัฐประศาสนศาสตร์ คือ การเรียนการสอนวิชาในด้านการบริหารรัฐกิจ การบริหารและจัดการภาครัฐ ในประเทศไทยมีหลายสถาบันอุดมศึกษาเปิดสอน เช่น สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ นอกจากนี้แล้วยังมีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ที่เปิดสอน ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการทั้งหลักสูตรบัณฑิต และ มหาบัณฑิต ในส่วนที่เป็นคณะโดยตรงได้แก่ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ นิด้า เป็นต้น |
posted by
kui
@
9:51 AM
|
|
|
|
|
ถนนเพชรเกษม (Thanon Phet Kasem) หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (กรุงเทพมหานคร - สะเดา (คลองพรวน)) ถนนเพชรเกษมสร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2493 ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ หลวงเพชรเกษมวิถีสวัสดิ์ (แถม เพชรเกษม) อดีตอธิบดีกรมทางหลวงคนที่ 7 ซึ่งตั้งชื่อเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2493 หลวงเพชรเกษมวิถีสวัสดิ์เป็นนักเรียนทุนหลวงของกรมรถไฟ ไปศึกษาวิชาวิศวกรรมโยธาที่ประเทศอังกฤษ และกลับมารับราชการที่กรมรถไฟหลวง ต่อมาย้ายไปสังกัดกรมทางหลวง. ถนนเพชรเกษม เป็นถนนที่สร้างขึ้นในสมัยที่หลวงเพชรเกษมวิถีสวัสดิ์ เป็นอธิบดีกรมทางหลวง โดยตั้งชื่อตามนโยบายของรัฐบาลสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ที่ให้ตั้งชื่อถนนตามชื่อนายช่างใหญ่ผู้ควบคุมการก่อสร้าง หรือการบังคับบัญชารับผิดชอบ ถนนเพชรเกษมเริ่มต้นที่ สะพานเนาวจำเนียร เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร เข้าสู่เขตภาษีเจริญ เขตบางแค และเขตหนองแขม แล้วผ่านลงไปยังจังหวัดภาคใต้ ผ่าน จังหวัดสมุทรสาคร นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร แล้วตัดเข้า ระนอง (โดยไม่ผ่านสุราษฎร์ธานี) พังงา กระบี่ ตรัง พัทลุง สิ้นสุดที่อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา รวมระยะทาง 1,274 กิโลเมตร นับเป็นทางหลวงที่ยาวที่สุดในประเทศไทย |
posted by
kui
@
9:46 AM
|
|
|
|
|
ดาวอังคาร เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 4 ในระบบสุริยะ ชื่อละตินของดาวอังคาร (Mars) มาจากชื่อเทพเจ้าแห่งสงครามของโรมัน หรือตรงกับเทพเจ้า Ares ของกรีก เป็นเพราะดาวอังคารปรากฏเป็นสีแดงคล้ายสีโลหิต บางครั้งจึงเรียกว่า "ดาวแดง" (ความจริงมีสีค่อนไปทางสีส้มอมชมพูมากกว่า) สัญลักษณ์แทนดาวอังคาร คือ ♂ เป็นโล่และหอกของเทพเจ้ามาร์ส ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์หินมีชั้นบรรยากาศเบาบาง พื้นผิวมีลักษณะคล้ายคลึงทั้งเครเตอร์บนดวงจันทร์ และภูเขาไฟ หุบเขา ทะเลทราย และบริเวณน้ำแข็งขั้วโลก บนโลก ดาวอังคารมีภูเขาที่สูงที่สุดในระบบสุริยะ ชื่อ Olympus Mons และหุบเขาลึกที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะชื่อ Valles Marineris คาบการหมุนรอบตัวเองและฤดูกาลของดาวอังคารนั้นเหมือนกับของโลก ดาวอังคารมีดาวบริวารขนาดเล็ก 2 ดวง คือ โฟบอสและดีมอส ทั้งสองดวงมีรูปร่างบิดเบี้ยว คาดว่าอาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ดาวอังคารคว้าจับไว้ |
posted by
kui
@
9:46 AM
|
|
|
|
|
ประวัติศาสตร์ (รอเพิ่มเติมเนื้อหา) การเมืองการปกครอง ประเทศอิรักแบ่งออกเป็น 18 จังหวัด (governorates/provinces, อาหรับ: muhafazat, เคิร์ด: Pârizgah) เขตปกครองตนเองเคอร์ดิสถาน (Kurdistan Autonomous Region) ซึ่งได้รับการรับรองโดยรัฐธรรมนูญ มีพื้นที่รวมบางส่วนของจังหวัดทางเหนือ และปกครองตนเองในเรื่องราชการภายในส่วนใหญ่ แบกแดด ซอลาฮัดดีน ดิยาลา วาซิต ไมซาน อัลบัสเราะห์ ซีกอร์ อัลมุซันนา อัลกอดิซียะห์ บาบิล การ์บะลา อันนะจัฟ อัลอันบาร์ นีนะวา ดะฮูก อาร์บีล อัตตามีม (กีร์กูก) อัสซุไลมานียะห์ การแบ่งเขตการปกครอง (รอเพิ่มเติมเนื้อหา) เศรษฐกิจ (รอเพิ่มเติมเนื้อหา) |
posted by
kui
@
9:45 AM
|
|
|
|
Tuesday, August 7, 2007
|
|
posted by
kui
@
12:09 AM
|
|
|
|
|